วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

IP Address คืออะไร

IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1 เป็นต้น
มาตรฐานของ IP Address ปัจจุบันเป็นมาตรฐาน version 4 หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า IPv4 วึ่งกำหนดให้ ip address มีทั้งหมด
32 bit หรือ 4 byte แต่ล่ะ byte จะถูกคั่นด้วยจุด (.) ภายในหมายเลขที่เราเห็นยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

1. Network Address หรือ Subnet Address
2. Host Address

บนเครื่อง computer ที่ใช้ TCP/IP Protocol จะมีหมายเลข IP Address กำกับอยู่ address นี้ เป็นอยู่ใน Layer 3 ของ OSI model ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (Logical address) และบนเครื่อง computerไม่ว่าจะใช้ Protocol ใด ๆ ก็ตามจะต้องมีหมายเลข ที่เรียกว่า MAC Address ประจำอยุ่ที่ Network card เสมอ MAC Address นี้เป็น Hardware Address ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่จะเปลี่ยน Network card

Class ของแต่่ะ IP Address


Class
IP Address
Network Address
Host Address
A
w.x.y.z
w
x.y.z
B
w.x.y.z
w.x
y.z
C
w.x.y.z
w.x.y
z

คำถาม: ทำไมต้องแบ่งเป็น Classต่าง ๆ เพื่ออะไร

เพื่อความเป็นระเบียบไงครับ ทางองค์กรกลางที่ดูแลเรื่องของ IP Address จึงได้มีการจัด Class หรือ หมวดหมู่ของ IP Address
ไว้ทั้งหมด 5 Class โดย Class ของ Address จะเป็นตัวกำหนดว่า Bit ใดบ้างใน หมายเลข IP Addressที่ต้องถูกใช้เพื่อ
เป็น Network Address และ Bit ใดบ้าง ที่ต้องถูกใช้เป็น Host Address นอกจากนั้น Class ยังเป็นตัวกำหนดด้วยว่า
จำนวนของ Network Segment ที่มีได้ใน Class นั้น ๆ มีเท่าไร และจำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมีได้ ภายใน
Network Segment นั้น ๆ มีเท่าไร

Class D

Class นี้จะไม่ถูกนำมาใช้กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่จะถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast
ของบาง Application Multicast คือ เป็นการส่งจากเครื่องต้นทางหนึ่งไปยัง กลุ่ม ของเครื่องปลายทางอีกกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่ใช่ ทุกเครืองใน Network Segment นั่น ๆ
Class E

Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ วิธีสังเกต ว่า IP Address นี้อยู่ Class อะไร• ถ้า Byte แรก ซ้ายสุดเป็น ตัวเลข 1-126 แสดงว่าเป็นหมายเลข IP Address ที่อยุ่ใน Class A (IP address 127 นั่น จะเป็น Loopback Address ของ Class นี้น่ะครับหรือ ของคอมท่านเอง )• ถ้า Byte แรก ซ้ายสุดเป็น ตัวเลข 128-191 แสดงว่าเป็นหมายเลข IP Address ที่อยุ่ใน Class B• ถ้า Byte แรก ซ้ายสุดเป็น ตัวเลข 192-223 แสดงว่าเป็นหมายเลข IP Address ที่อยุ่ใน Class C• ส่วน 224 ขึ้นไปจะเป็น Multicast Address ที่กล่าวไว้ข้างต้น
ส่วน IPv6. สามารถตามมาดูข้อมูลได้ที่นี้น่ะครับ


เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ในอินเตอร์เน็ตต้องมีแอดเดรส (address) ซึ่งเหมือนกับบ้านต้องมีเลขที่บ้านเพื่อที่จะบอกได้ว่าเป็นบ้านไหน แอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องต้องไม่ซ้ำกัน ทั้งนี้จะได้แยกออกว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องไหน แอดเดรสที่ใช้ในอินเตอร์เน็ตคือ IP address
IP Address
รูปแบบของ IP address นั้นเป็นตัวเลขล้วน( มีขนาด 32 บิต) เวลาเขียน IP address แต่ละตัวจะเขียนแทนด้วยเลขฐานสิบ โดยแบ่งเลขฐานสิบที่เขียนออกมาเป็นสี่ส่วน แต่ละส่วนคั่นด้วยจุด ดังตัวอย่าง
161.200.48.9
แต่ละส่วนจะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 255 เกินกว่านั้นไม่ได้ แอดเดรสในตัวอย่างนี้เป็นแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคณะอักษรศาสตร์เครื่องหนึ่ง ( ซึ่งเครื่องนี้ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์) แอดเดรสนี้ท่านไม่สามารถกำหนดได้ตามใจชอบ เพราะถ้ากำหนดได้ตามใจชอบจะทำให้มีแอดเดรสซ้ำกัน (คือ อาจมีคอมพิวเตอร์สองเครื่องมีหมายเลขเดียวกัน ทำให้แยกไม่ออกว่าเป็นเครื่องไหน)
หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNic) ขององค์กร Network Solution Incorpaoration (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกาเป็นผู้กำหนดหรือให้ IP address เมื่อหน่วยงานใดได้นำคอมพิวเตอร์หรือเน็ตเวิร์กต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตแล้วต้องทำการขอ IP address แต่ไม่จำเป็นต้องขอโดยตรงกับ InterNic ก็ได้ มีหน่วยงานที่รับ IP address จาก InterNic มา แล้วมาทำหน้าให้ IP address เช่น หน่วยงานประเภท ISP ให้ IP address แก่ผู้ที่เป็นสมาชิก
ยกตัวอย่างในกรณีของจุฬาฯ ได้รับแอดเดรสจาก InterNic มาจำนวนหนึ่งประมาณหกหมื่นกว่าหมายเลข แอดเดรสของจุฬามีค่าระหว่าง 161.200.0.0 ถึง 161.200.255.255 ChulaNet ซึ่งเป็นผู้ดูแลเน็ตเวิร์กของจุฬา ฯเป็นผู้คอยกำหนดแอดเดรสให้แก่คอมพิวเตอร์ในเน็ตเวิร์กของจุฬา ฯ กล่าวคือถ้าอยู่ในจุฬาฯ ให้ขอ IP address จาก ChulaNet
การอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ตามต้องใช้แอดเดรสในการอ้างอิง ดังนั้นท่านต้องทราบแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อก่อน ท่านจึงจะสามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์นั้นได้ เงื่อนไขนี้ทำให้เกิดปัญหาในการใช้อินเตอร์เน็ต เพราะว่าแอดเดรสที่ว่านี้เป็นตัวเลขล้วนทำให้ยากต่อการจดจำและใช้งาน และแอดเดรสตัวเลขยังไม่สื่อความหมายอีกด้วย แต่ถ้าใช้แอดเดรสที่เป็นชื่อในการอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์จะสดวกกว่า และง่ายต่อการจดจำ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวนี้จึงได้มีการพัฒนา Domain name system ขึ้นมา
Domain Name System
Domain Name System เป็นกลไกที่ทำให้สามารถใช้แอดเดรสที่เป็นชื่อในการอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์หรือติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องใช้แอดเดรสที่เป็นตัวเลข
ยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งมีแอดเดรสที่เป็นตัวเลขคือ 161.200.48.9 เวลาติดต่อกับคอมพิวเตอร์นี้ท่านต้องระบุด้วยแอดเดรสตัวเลขเสมอ แต่เมื่อมีการใช้ Domain Name System ก็จะมีการกำหนดแอดเดรสที่เป็นชื่อให้แก่คอมพิวเตอร์ ในที่นี้ก็กำหนดเป็นชื่อ www.arts.chula.ac.th ต่อไปเมื่อท่านต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ท่านก็ใช้ชื่อ www.arts.chula.ac.th ในการติดต่อได้ หรือจะแอดเดรสที่เป็นตัวเลขคือ 161.200.48.9 ในการติดต่อก็ได้ คือได้ทั้งสองอย่าง
โครงสร้างชื่อของ Domain Name System เป็นระบบแบบลำดับชั้น (hierachical structure) กล่าวคือระบบนี้ทำการแบ่งคอมพิวเตอร์ออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มเรียกว่าโดเมน(Domain) ในแต่ละโดเมนก็แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้หรือที่เรียกว่า sub domain และในแต่ละกลุ่มย่อยก็สามารถแบ่งต่อออกไปเป็นกลุ่มย่อยได้อีกจนกว่าจะพอใจ
ตัวอย่างชื่อโดเมนในระดับบนสุด
com หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานประเภทธุรกิจหรือหน่วยงานเอกชน
gov หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานภาครัฐบาล
edu หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานการศึกษา
org หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
net หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานที่เป็น network operator หรือ provider ต่าง ๆ
ถ้าชื่อโดเมนในระดับบนสุดยาวแค่สองหลักหมายถึงประเทศ เช่น
th หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย
us หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ตัวอย่างชื่อโดเมน เช่น คอมพิวเตอร์ของทีวีช่อง 5 ที่ให้บริการด้าน web มีชื่อว่า www.tv5.co.th ซึ่งมีความหมายดังนี้
th หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในโดเมนประเทศไทย
co หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในซับโดเมนธุรกิจ (แต่ต้องอยู่ในประเทศไทย)
www.tv5 หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้ชื่อ www.tv5
ตัวอย่างชื่อโดเมน เช่น คอมพิวเตอร์ของทีวีช่อง 7 ที่ให้บริการด้าน web มีชื่อว่า www.ch7.com ซึ่งมีความหมายดังนี้
com หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในโดเมนธุรกิจ
www.ch7 หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้ชื่อ www.ch7
VMWare จริงๆ ก็เคยได้ยินมานานแล้ว แต่เพิ่งได้ลองใช้งาน แล้วก็ประทับใจมากครับ เลยเขียนมา share ให้คนอื่นได้ทราบด้วยครับ เผื่ออาจยังไม่เคยใช้ software ตัวนี้ชื่อ VMWare ซึ่งสามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราสามารถใช้งานได้ หลายๆ OS พร้อมๆกัน เช่น อย่างที่ผมลองดู ก็จะติดตั้ง Window2000 กับ WinNT workstation แล้วสามารถใช้งานได้พร้อมกันเลย แต่เท่าที่ทราบ support OS หลายตัวครับ เช่น linux หรือ dos อะไรก็ support เหมือนกันครับ ส่วนที่ผมลองลงดูเป็นดังรูปครับ
จะเห็นว่าจากรูปจะมี OS 2 ตัว ตัวนอก ซึ่งเป็นตัวหลัก จะเป็น win2000 ส่วนตัวใน จะเป็น winnt ครับ โดย winnt จะเป็น window อยู่ใน win2000 อีกทีครับ โดย winnt ข้างในจะเป็น virtual machine ครับ ถ้าสังเกต window ในส่วน winnt จะมีปุ่ม power off , power on , reset ด้วย เหมือนเป็น computer ตัวนึงเลยครับ น่าจะเหมาะกับผู้ใช้งานที่ต้องการทดสอบ software หลายๆ OS โดยสามารถใช้งานพร้อมกันได้เลย การติดตั้งก่อนอื่น คุณต้องมี OS หลักก่อน อย่างที่ผมลงก็คือ window2000 ครับ จากนั้น ก็ลง VMWare โดยสามารถไป download ได้จาก
www.vmware.com โดยสามารถ download มาได้และทาง website จะส่ง serial มาให้อีกทีซึ่งใช้งาน ได้เพียง 30 วันครับ ส่วน version เต็ม ก็ต้องเสียเงินซื้อครับ รู้สึกว่าจะ 299 เหรียญ หลังจากที่ติดตั้งเสร็จแล้ว ก็สามารถสร้าง virtual machine ได้ครับ จากนั้น software ก็ขึ้นเป้น wizard ให้เลือกว่าจะสร้าง virtual machine ด้วย OS อะไร พร้อมทั้ง setting ค่า default ที่เหมาะสมให้ด้วย หลังจากนั้นเรียบร้อยก็ power on virtual machine ใหม่ที่สร้างขึ้นเครื่องก็จะเสมือน boot ที่หน้าจอ ขึ้น BIOS checking ดังรูปข้างล่าง
การติดตั้ง OS ใหม่ก็ให้ใส่ CD สำหรับ OS นั้นๆ เข้าไปมันก็จะ boot จาก CD แล้วทำการติดตั้งเหมือนติดตั้งเครื่องปกติครับ เมื่อติดตั้งเรียบร้อยลอง boot เข้า winnt ก็จะประมาณเป็นดังรูป
มีข้อแนะนำนิดหน่อยครับว่า หลังจากติดตั้งเสร็จ จอใน virtual machine จะไม่ละเอียดครับ เหมือนลง winnt แล้วต้องติดตั้ง driver เพิ่มเติม อันนี้ก็เหมือนกันครับ โดย VMWare จะเตรียม driver ให้แล้ว โดยจะต้องลง VMWare tool ก็จะมี CD drive โผล่มามี driver ให้สามารถติดตั้ง driver ของ card จอได้ และ อีกอัน ก็คือเรื่อง device ที่ share กันใช้ครับ เช่น พวก CD drive, floppy drive, Serial หรือ Parallel port สามารถใช้ได้ ทีละ OS ครับ โดยการ switch ก็ต้อง ไปเลือกใน menu ของ virtual machine ครับ และที่น่าประทับใจอีกอย่างก็คือ network ครับ โดยเครื่องข้างในกับข้างนอกจะเป็น IP เดียวกัน หรือคนละ IP ก็ได้ครับ และ login กันคนละ logon ก็ได้ครับ รายละเอียดอื่นๆ ลองติดตั้งดูครับ แล้วอ่าน help ดู ก็น่าจะพอได้ครับ หากใครสนใจก็ลองไป download มาลงดูได้ครับ ใช้ดูแล้วก็สนุกดีครับ และรู้สึกว่าผู้จัดทำมีความคิดสร้างสรรค์ ที่ดีจริงๆครับ

ไม่มีความคิดเห็น: